หมูโสร่ง อาหารว่างโบราณ พันเส้นหมี่ยังไงไม่ให้หลุด หมูโสร่งใช้เส้นอะไรได้บ้าง คำตอบอยู่ในบทความ
ส่วนผสมในการทำ หมูโสร่ง
หมู โสร่ง เป็นอาหารว่างโบราณ ที่เดี๋ยวนี้ หากินได้ค่อนข้างยากแล้ว บางครั้งอยากกิน แต่ไม่พบรายชื่อเมนูอาหารดังกล่าวภายในร้านอาหาร ก็ทำให้อดกินไปอย่างน่าเสียดาย
ความเป็นมาของเมนูดังกล่าว เข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากการเปิดการค้า ทำให้ชาวโปรตุเกศและชาวญี่ปุ่น เป็นผู้นำเมนูดังกล่าวเข้ามา เริ่มต้น ใช้หมูบดและเส้นหมี่ซัว เป็นส่วนประกอบหลักในการทำเมนูนี้ ต่อมา เปลี่ยนจากหมูบดมาเป็นไก่บด ก็ยังอร่อยเหมือนเดิม
วัตถุดิบ
- หมูบด300 กรัม
- รากผักชี10 ราก
- กระเทียม5 กลีบ
- เม็ดพริกไทยดำ1/2 ช้อนโต๊ะ
- เส้นหมี่ซั่ว1 ถุง
- น้ำมันปาล์ม1 ขวด
- ไข่ไก่2 ฟอง
- ไข่เค็ม (ใช้เฉพาะไข่แดง)4 ฟอง
- ซอสปรุงรส1 ช้อนโต๊ะ
- แป้งข้าวโพด2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำจิ้มไก่ ยี่ห้ออะไรก็ได้
วิธีทำ
ขั้นตอนที่ 1 นำกระเทียม รากผักชี พริกไทยดำ โขลกรวมกัน ควร โขลก 3 เกลอ แบบหยาบ ๆ เวลาเคี้ยวหมู จะได้กลิ่นหอมและรสสัมผัสของ 3 เกลอ แล้วมาดูขั้นตอนการทำ หมูโสร่ง ขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 นำหมูบดมาหมักด้วยซอส รสดีรสหมู รากผักชีกระเทียมพริกไทยโขลกหยาบ แป้งข้าวโพด ไข่แดง ไข่ไก่ คลุกส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน
เคล็ดลับความอร่อย: ถ้าไม่อยากให้หมูบดเหลวจนเกินไป ควรใช้เฉพาะไข่แดง สำหรับการใส่แป้งข้าวโพด ใส่เพื่อทำให้หมูนุ่มและแป้งจับตัวกันมากขึ้น เวลาทอดหมู จะได้ไม่เละอันเป็นอีกหนึ่งวิธีทำ
ขั้นคอนที่ 3 หมี่ซัวลวกเพียงแค่ 1 นาที ก็พอ กระทั่งเส้นหมี่ซัวนิ่ม นำเส้นหมี่มาแช่ในน้ำเย็นได้เลย ซึ่งควรเป็นเส้นหมี่ซัว สำหรับทำหมูโสร่ง
ขั้นตอนที่ 4 นำหมูที่หมักแล้วมาห่อกับไข่แดงของไข่เค็ม ขนาดของหมูบด ปั่นเป็นก้อนกลมเท่าก้อนมะยม นำเส้นหมี่ซัว 3 เส้นพันกับหมู
ขั้นตอนที่ 5 นำหมูที่พันกับเส้นหมี่ซัวจนครบทุกก้อนแล้ว
มาทอดในน้ำมัน เน้นว่า น้ำมันต้องท่วม ใช้อุณหภูมิประมาณ 200 องศาเซลเซียส กระทั่งเส้นหมี่ซัวเริ่มเหลืองนิด ๆ ให้ปรับอุณหภูมิไฟขึ้นมาเป็น 240 องศาเซลเซียส เทคนิคนี้ ทำให้หมูไม่อมน้ำมัน เมื่อทอดหมูจนสุกแล้ว ก็ตักขึ้นมาจากกะทะ พักไว้ กระทั่งสะเด็ดน้ำมัน ก็นำมารับประทานกับน้ำจิ้มไก่ยี่ห้ออะไรก็ได้
อ่านบทความอื่นๆ: