สปาเก็ตตี้ขี้เมาทะเล
สปาเก็ตตี้ขี้เมาทะเล
ปลาทับทิมสามรส
ปลาทับทิมสามรส
Categories
ขนมหวานไทย

ขนมกล้วย อร่อยภายใน 30 นาที

ขนมกล้วย

ขนมกล้วย ขนมเมนูขนมหวานไทย ทำง่าย กล้วย ๆ เพียง 30 นาที เท่านั้น ทำอย่างไร ห้ามพลาด บอกเลย

ส่วนผสมในการทำ ขนมกล้วย

ขนมกล้วยเมนูขนมไทยง่าย ๆ สมชื่อที่สามารถทำได้เองที่บ้าน ใครก็ทำได้ เพราะเป็นเรื่องกล้วย ๆ ซึ่งในส่วนของวัตถุดิบนั้น หาได้ไม่ยาก ทั้งนี้เพราะ แทบทุกครัวเรือน ต้องปลูกต้นกล้วยรวมถึงต้นมะพร้าวเอาไว้แล้วอันเป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตของคนไทยที่เน้นอาศัยอยู่กันอย่างประหยัด ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เราถึงเห็นบรรดาขนมไทยต่าง ๆ ใช้วัตถุดิบภายนอกรั้วบ้านมาทำขนม

ทว่า ใช่ว่า ทุกคนจะสามารถปลูกต้นกล้วย ต้นมะพร้าวได้เองภายนอกบ้าน อันมาจาก พื้นที่น้อยไม่เพียงพอ ก็สามารถหาซื้อกล้วยและมะพร้าวได้ตามตลาดนัดใกล้บ้าน ดังนั้น ขนมชนิดนี้ถึงเป็นอีกหนึ่งขนมยอดนิยม นำมาทำขายสร้างอาชีพ อีกทั้งในช่วงผลผลิตออกเยอะ ก็สามารถนำมาแปรรูปเป็นขนมแสนอร่อยอีกทั้งยังประหยัด หรือทำเป็นอาชีพเสริมก็ยังได้

วัตถุดิบสำหรับทำ ขนมกล้วย

วัตถุดิบ

วัตถุดิบสำหรับทำของกินเล่นชนิดนี้ เตรียมเพียงไม่กี่อย่าง อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในครัวเรือน ง่าย ๆ  ส่วนจะมีอะไรกันบ้าง? รายละเอียดมีดังนี้

  • กล้วยน้ำว้าสุกนำมาบดให้ละเอียดประมาณ ½ กิโลกรัม
  • น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
  • เกลือป่น 1 ช้อนชา
  • แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม
  • แป้งมันสำปะหลัง 5 ช้อนโต๊ะ
  • หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร
  • มะพร้าวขูดฝอย ให้เลือกเป็นมะพร้าวทึนทึกถึงจะอร่อยและหอม
  • ใบตองสำหรับห่อ หรือถ้วยตะไลในกรณีไม่สามารถหาใบตองมาใช้ทำขนมได้

วิธีทำง่าย ๆ กล้วย ๆ สมชื่อ

วิธีทำ

ขั้นตอนที่ 1 นำส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้แล้วก่อนหน้า อันได้แก่ กล้วยน้ำว้า แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาลทราย หัวกะทิ และมะพร้าวทึนทึกขูด ผสมส่วนผสมดังกล่าวทั้งหมดให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 2 นำใบตองที่จะนำมา เช็ดทำความสะอาดก่อนในเบื้องต้น ซึ่งก่อนจะหยอดส่วนผสมที่เราเตรียมไว้  ให้นำใบตองมาแผ่ออกบาง ๆ หรือจะทำเป็นรูปทรงกรวยสวย ๆ ก็ได้ รวมถึง บ้านไหนที่ไม่สามารถหาใบตองมาทำขนม ให้นำถ้วยตะไลใช้แทนใบตองก็ยังเป็นสิ่งที่ทดแทนกันได้ จากนั้น ถึงค่อยหยอดขนมลงในใบตองหรือถ้วยตะไลได้เลย 

ขั้นตอนที่ 3 เรียงขนมทั้งหมดลงในลังถึงที่น้ำกำลังเดือดปุดๆ จากนั้น ใช้เวลานึ่งขนมประมาณ 20 นาที ขนมก็สุกแล้ว เตรียมเสริ์ฟรับประทานได้เลย ซึ่งความอร่อยของขนมชนิดนี้ ให้รับประทานตอนร้อน ๆ ถึงจะอร่อยโดนใจ และถ้าสามารถแปรรูปได้ในปริมาณที่มาก ให้นำมาจำหน่ายสร้างรายได้ได้เลย ทั้งนี้เพราะ เป็นอีกหนึ่งขนมไทยที่คนนิยมมาช้านาน

เครดิตภาพประกอบ

https://www.wongnai.com/recipes/ka-nom-kluy

อ่านบทความ ขนมเบื้อง

จีคลับ

Categories
ขนมหวานไทย

สูตรขนมครกโบราณ แป้งกรอบนอกนุ่มใน อร่อยหวานมัน โรยหน้าด้วยเครื่องแน่น ๆ

ขนมครกโบราณ

ใครที่ชื่นชอบขนมไทยอย่างขนมครกเชิญทางนี้เลยค่ะ เพราะวันนี้เรามีสูตรขนมครกโบราณมาแนะนำทุกคน ขอบอกเลยว่าสูตรนี้กรอบนอกนุ่มใน หอมกลิ่นกะทิ อร่อยหวานมันแน่นอน ที่สำคัญยังอัดแน่นไปด้วยเครื่องโรยหน้ามากมาย โดยสูตรนี้เราได้มาจากช่อง YouTube ชื่อช่อง แม่ซี น้องมดดี Channel ซึ่งนี่เป็นสูตรขนมครกที่ทำกินเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน หรือจะทำขายสร้างอาชีพก็ดี เพราะด้วยความที่แป้งขนมครกกรอบนอกนุ่มใน และมีรสชาติอร่อยหวานมันไม่เหมือนใคร เราจึงมั่นใจได้เลยว่าขนมครกสูตรนี้จะต้องถูกอกถูกใจลูกค้าอย่างแน่นอนค่ะ 

ขนมครกขึ้นชื่อว่าเป็นขนมโบราณที่ความนิยมอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเดิมทีจะใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำโม่รวมกับหางกะทิ และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงใช้แป้งข้าวเจ้าแทน เพื่อความสะดวก และโรยหน้าด้วยเครื่องต่าง ๆ มากมาย เช่น น้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม เป็นต้น 

ความจริงแล้วขนมครกมี 2 ประเภท ได้แก่ ขนมครกมอญ และขนมครกชาววัง โดยขนมครกมอญจะพบตามชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนขนมครกชาววังจะพบโดยทั่วไปตามร้านขายขนมครกทั่วประเทศ ซึ่งสูตรขนมครกที่เรานำมาแนะนำทุกคนในวันนี้เป็นสูตรขนมครกชาววัง ที่โรยหน้าด้วยเครื่องแน่น ๆ แต่จะมีส่วนผสมและวิธีทำอย่างไรบ้าง ติดตามได้จากบทความนี้เลยค่ะ 

ขนมครกโบราณ

ส่วนผสมของสูตรขนมครกโบราณ พร้อมโรยหน้าด้วยเครื่องแน่น ๆ

หลายคนคงทราบกันดีว่าสูตรขนมครกเป็นสูตรขนมไทยโบราณ ที่ทำมาจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลารับประทานต้องแคะออกมา ถึงแม้ว่าแป้งขนมครกสมัยโบราณจะใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำโม่รวมกับหางกะทิ แต่เพื่อความสะดวก เราจะเลือกใช้แป้งสำเร็จรูปอย่างแป้งข้าวเจ้าแทน และนี่คือส่วนผสมสำหรับทำขนมครกโบราณ 

อันดับแรกต้องเตรียมน้ำปูนใสก่อน 

  1. น้ำเปล่า 1000 มิลลิลิตร
  2. ปูนแดงกินหมาก 2 ช้อนตวง 

หมายเหตุ: ผสมน้ำกับปูนแดงให้ละลาย แล้วทิ้งไว้ข้ามคืน 

ส่วนผสมของแป้งขนมครก

  1. แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม
  2. ข้าวหอมมะลิหุงสุก 100 กรัม
  3. น้ำปูนใส 120 กรัม (หากไม่มีให้ใช้น้ำเปล่าแทนได้)
  4. หัวกะทิคั้นสดแบบเข้มข้น 500 มิลลิลิตร
  5. หางกะทิ 250 มิลลิลิตร
  6. น้ำตาลทราย 60 กรัม
  7. เกลือสมุทร 2 ช้อนชา 

ส่วนผสมของหน้ากะทิ

  1. หัวกะทิคั้นสดแบบเข้มข้น 500 มิลลิลิตร
  2. น้ำตาลทราย 80 กรัม (ไม่ชอบหวานลดเหลือ70กรัม)
  3. เกลือสมุทร ½ ช้อนชา กับ ¼ ช้อนชา
  4. แป้งข้าวเจ้าตราหมีคู่ดาว 1 ช้อนตวง กับ ½ ช้อนตวง 

ส่วนผสมของเครื่องสำหรับโรยหน้าขนมครก

  1. ข้าวโพดหวานฝานบาง ๆ นึ่งสุก 1-2 ฝัก
  2. เผือกหอมหั่นเต๋านึ่งสุก 1 ถ้วย
  3. ต้นหอมซอย 1 ถ้วย
  4. น้ำมันพืชสำหรับเช็ดเบ้า 
ขนมครกโบราณ

ขั้นตอนและวิธีทำขนมครกโบราณ แป้งกรอบนอกนุ่มใน

หลังจากที่ได้เตรียมส่วนผสมของสูตรขนมครกโบราณเรียบร้อยแล้ว ต่อไปคือวิธีทำขนมครกแป้งกรอบ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากส่วนผสมจะสำคัญแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำขนมครก นั่นก็คือ ถาดหลุมขนมครก และนี่คือขั้นตอนการทำขนมครก และเคล็ดลับสำหรับทำขนมครกที่คุณควรรู้

วิธีทำขนมครกโบราณ

  1. ตั้งหม้อนึ่งข้าวโพดหวานมาฝานบาง ๆ และเผือกหั่นเต๋า โดยใช้เวลานึ่งประมาณ 20 นาที แล้วพักไว้ให้เย็น
  2. ระหว่างนั้นเริ่มทำแป้งขนมครก โดยการนำแป้งข้าวเจ้า ข้าวสวย น้ำปูนใส กะทิ และเกลือ ลงไปปั่นให้ส่วนผสมเข้ากันจนละเอียด แล้วนำไปเทใส่ชามผสม พักแป้งไว้ 30 นาที 
  3. จากนั้นทำหน้ากะทิ โดยการเตรียมชามผสมอีกใบ แล้วนำแป้งข้าวเจ้า หัวกะทิแบบคั้นสดเข้มข้น น้ำตาลทรายขาว และเกลือสมุทร ลงไปผสมให้เข้ากัน แล้วคนส่วนผสมทั้งหมดด้วยตะกร้อมือจนทุกอย่างละลายเข้ากันดี
  4. เตรียมกาน้ำหัวแหลม 2 ใบ ใบหนึ่งเทส่วนแป้งขนมครกลงไป ส่วนอีกใบเทส่วนหน้ากะทิลงไป เพื่อสะดวกในการเทลงถาดหลุม 
  5. เตรียมถาดหลุม โดยการนำถาดหลุมไปล้างด้วยน้ำยาล้างจานให้สะอาดประมาณ 3 รอบเพื่อล้างที่เคลือบกระทะออกจนหมด
  6. นำถาดหลุมไปตั้งไฟให้ร้อน แล้วเทน้ำมันพืชลงไปให้ท่วม ทิ้งไว้ 30 นาที จากนั้นเทน้ำมันออก เพื่อทำให้เวลาใส่แป้งกะทิจะไม่ติด
  7. การเท ให้เทส่วนผสมของแป้งลงไปก่อน โดยการเริ่มจากด้านนอกวนเข้าไปบรรจบที่ด้านใน จากนั้นนำส่วนหน้ากะทิเทลงทันทีจนครบ
  8. จากนั้นนำเครื่องสำหรับโรยหน้าขนมครก ได้แก่ ข้าวโพดหวานฝานบาง ๆ นึ่งสุก เผือกหอมหั่นเต๋านึ่งสุก และต้นหอมซอย ที่เตรียมไว้หยอดลงไป โดยต้นหอมสามารถหยอดได้ทันที ส่วนข้าวโพดกับเผือก ต้องรอให้แป้งเซตตัวก่อนค่อยใส่ลงไป
  9. นำฝาปิดถาดหลุม โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที หรือสังเกตจากขอบด้านนอกออกสีน้ำตาล ถือว่าขนมครกใช้ได้แล้ว จากนั้นนำช้อนมาตักออกทีละหลุม จัดเรียงใส่จานให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟค่ะ


Suwanna Preebunpul

Suwanna Preebunpul

สวัสดีค่ะ ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน นักเขียนออยนะคะ ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ชอบท่องเที่ยว ถ่ายรูป เขียนบทความแนวแนะนำสินค้า, เทคโนโลยี, สาระความรู้, แฟชั่น และGraphic Design ด้วยความที่ส่วนตัวชอบทำอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีงานเขียนแนวใหม่ ๆ ออกมา ยังไงก็ฝากติดตามผลงานด้วยนะคะ

Contact >> Instagram, Facebook, Line

เว็บบอลออนไลน์

Categories
ขนมหวานไทย

ขนมเบื้อง ขนมไทยโบราณ สูตรแป้งกรอบนาน ทานเล่นเพลิน ๆ

ขนมเบื้อง

หากพูดถึงขนมไทยที่หาซื้อได้ง่ายตามรถเข็นแถวบ้านหลายคนคงนึกถึง ขนมเบื้อง ขนมไทยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน และด้วยความที่ขนมเบื้องมีรสชาติอร่อยหวานมัน เคี้ยวกรุบกรอบ จึงได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น โดยขนมเบื้องมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยมีรูปร่างเป็นแผ่นแป้งกรอบ ๆ ใส่ไส้ที่มีทั้งหวานและเค็มให้เลือก พร้อมกับใส่ไส้ครีม เพื่อเพิ่มรสชาติหวานมันอีกด้วย และด้วยความที่มันมีลักษณะเป็นแผ่นแป้งกรอบ หากเก็บไว้นานอาจทำให้แป้งไม่กรอบได้ จึงควรที่จะรับประทานตอนทำเสร็จใหม่ ๆ แต่สำหรับใครที่อยากทำเก็บไว้ทานนาน ๆ ในบทความนี้เราก็มีสูตรวิธีทำขนมเบื้องยังไงให้แป้งกรอบเก็บไว้ทานได้นานมาแนะนำทุกคน จะมีส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง มาติดตามกันเลยค่ะ

ส่วนผสมของ ขนมเบื้อง สูตรแผ่นแป้งกรอบนาน ทานเพลิน

เราจะทำ ขนมเบื้อง ยังไงให้เก็บไว้ทานได้นาน ๆ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าขนมเบื้องเป็น ขนมหวานไทย ที่มี ส่วนผสมหลัก คือ แป้งข้าวเจ้า ไข่แดง น้ำปูนใส และน้ำตาลปี๊บ เมื่อขนมเบื้องสุกมันก็จะกรอบอร่อย แต่หากมันสัมผัสอากาศเป็นเวลานานแผ่นแป้งก็จะไม่กรอบเหมือนตอนทำเสร็จใหม่ ๆ แต่โชคดีที่วันนี้เรามีสูตรการทำขนมเบื้องยังไงให้ แป้งกรอบนาน มาแนะนำทุกคน และสูตรนี้เป็นสูตรขนมเบื้องไส้หวาน (ฝอยทอง) โดยเรานำสูตรนี้มาจากช่อง YouTube ที่มีชื่อว่า เจ้หน่อง Thai style แต่ก่อนที่เราจะไปดูขั้นตอนและวิธีการทำขนมเบื้อง เรามาจัดเตรียมส่วนผสมทั้งหมดกันก่อนดีกว่าค่ะ

ส่วนผสมสำหรับทำไส้เค็ม

  1. มะพร้าวขูดเส้น 450 กรัม
  2. น้ำตาลทราย 275 กรัม
  3. พริกไทยขาว 1 ช้อนชา
  4. พริกไทยดำ 1 ช้อนชา
  5. กระเทียม 25 กรัม
  6. หอมแดง 2 หัว
  7. ใบมะกรูด 10 ใบ
  8. รากผักชี หรือก้านผักชี 25 กรัม
  9. น้ำเปล่า 100 มล.
  10. เกลือป่น 1.5 ช้อนชา
  11. สีผสมอาหาร สีแดงและสีเหลือง

ส่วนผสมสำหรับทำครีม

  1. ไข่ขาว 200 กรัม
  2. น้ำตาลปี๊บ 500 กรัม

ส่วนผสมสำหรับทำแผ่นแป้งขนมเบื้อง

  1. แป้งสาลี 200 กรัม
  2. แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม
  3. แป้งถั่วเขียว 100 กรัม
  4. น้ำปูนใส 1,300 มิลลิลิตร
  5. ไข่แดงจากไข่เป็ด 3 ฟอง
  6. ไข่แดงจากไข่ไก่ 4 ฟอง
  7. น้ำตาลทราย 600 กรัม
  8. ผงโกโก้ 2 ช้อนโต๊ะ
ขนมเบื้อง

ขั้นตอนและวิธีการทำขนมเบื้อง

หลังจากที่เราได้เตรียมส่วนผสมสำหรับทำ ขนมเบื้อง เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาดูขั้นตอนและ วิธีทำ ขนมเบื้องกันต่อเลยค่ะ ซึ่งสูตรนี้อาจจะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างเยอะ แต่รับรองได้เลยว่าสูตรขนมเบื้องนี้รสชาติอร่อยหวานมัน เคี้ยวกรุบกรอบ อีกทั้งยังเก็บไว้ทานเล่นเพลิน ๆ ได้อีกนานเลยค่ะ 

วิธีทำไส้เค็ม

  1. เริ่มต้นด้วยการทำน้ำเชื่อม โดยการต้มน้ำเปล่ากับน้ำตาลทราย แล้วเคี่ยวให้ข้น 
  2. นำหอมแดง รากผักชี และกระเทียม มาตำให้ละเอียด แล้วนำลงไปผัดในน้ำเชื่อม ตามด้วยเกลือป่นและสีผสมอาหารสีแดง สีเหลือง
  3. จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดเส้น ลงไปผัดให้เข้ากัน จนกระทั่งแห้งไร้ความชุ่มของน้ำตาล
  4. เติมพริกไทยป่นและก้านผักชีส่วนที่เหลือ แล้วผัดให้เข้ากัน
  5. ปิดท้ายด้วยการโรยพริกไทยดำป่นและใบมะกรูดเส้นฝอย แล้วผัดต่ออีกแป๊บเดียว จากนั้นปิดเตาตักไส้เค็มใส่ชามแล้วพักไว้ให้เย็น

วิธีทำครีม

  1. เตรียมชามผสมแล้วนำไข่ขาวกับน้ำตาลปี๊บลงไปผสม
  2. จากนั้นตีด้วยเครื่องตีไข่ไฟฟ้าความแรงสุด จนกว่าส่วนผสมทั้งหมดจะเป็นครีมขาว ๆ ตั้งยอด นั่นจึงถือว่าใช้ได้แล้ว

วิธีทำขนมเบื้อง

  1. เริ่มต้นด้วยการร่อนแป้งแป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า และแป้งถั่วเขียว สลับกันไปใส่ลงในชามผสม จากนั้นสลับใส่น้ำตาลทราย และผงโกโก้ ลงในชามผสมอีกครั้ง
  2. จากนั้นให้ใส่ไข่แดงจากไข่เป็ดและไข่ไก่ ลงไปในส่วนผสม (ข้อ 1) ทันที แล้วเริ่มเปิดเครื่องตีด้วยแรงตีต่ำสุดก่อน ระหว่างนั้นก็ทยอยใส่น้ำปูนใสลงไปทีละเล็กน้อย
  3. เมื่อทยอยใส่น้ำปูนใสหมดแล้ว จึงเริ่มเปิดเครื่องตีด้วยแรงตีแรงสุด และตีจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน จากนั้นให้พักแป้งก่อนนำมาใช้งาน
  4. เปิดเตาขนมเบื้อง เมื่อเตาเริ่มร้อนให้ละเลงแป้ง เป็นรูปวงรีลงบนเตาได้เลย
  5. เมื่อแป้งเริ่มสุก ให้แต้มครีมลงไปบนแผ่นแป้งทันที
  6. จากนั้นให้โรยไส้เค็มลงไปบนขนมเบื้องทันที เพราะเนื้อครีมกับไส้จะได้ยึดติดกัน หากใส่ไส้ตอนครีมเริ่มแห้งจะทำให้ไส้และครีมไม่ติดกัน 
  7. เมื่อได้ขนมเบื้องที่ต้องการแล้วก็ให้เตรียมวอร์มเตาอบ เพื่อนำขนมเบื้องไปอบไล่ความชื้นของครีม โดยเปิดไฟอบเพียง 250 F ใช้เวลาอบเพียง 5-7 นาที เพียงเท่านั้นคุณก็จะได้ขนมเบื้องไส้เค็มพร้อมรับประทาน
Suwanna Preebunpul

Suwanna Preebunpul

สวัสดีค่ะ ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน นักเขียนออยนะคะ ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ชอบท่องเที่ยว ถ่ายรูป เขียนบทความแนวแนะนำสินค้า, เทคโนโลยี, สาระความรู้, แฟชั่น และGraphic Design ด้วยความที่ส่วนตัวชอบทำอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีงานเขียนแนวใหม่ ๆ ออกมา ยังไงก็ฝากติดตามผลงานด้วยนะคะ

Contact >> Instagram, Facebook, Line

ufabetฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ขนมหวานไทย

ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ ขนมไทยสุดน่ารัก รสชาติอร่อยหวานมัน

ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ

ถ้าหากพูดขนมไทยที่มีวัตถุดิบหลักเป็นน้ำกะทิหลายคนคงจะนึกถึงขนมบัวลอยน้ำกะทิ ซึ่งเป็นขนมไทยที่อยู่คู่ครัวไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่ครั้งโบราณ บัวลอยทำมาจากแป้งโดยการนำแป้งมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการปั้นให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ที่น่ารัก และชวนน่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปพบกับวิธีทำ ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ ขนมบัวลอยไทยดั้งเดิมที่พิเศษสุดด้วยการปั้นลูกบัวลอยให้เป็นรูปทรงของดอกกุหลาบโดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสมทำให้เป็นอีกหนึ่งขนมไทยแบบดั้งเดิมที่แปลกใหม่ น่าลิ้มลองที่สุดในตอนนี้ 

ในปัจจุบันขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบได้ถูกนำมาเป็นขนมหวานเตรียมรับแขกในงานบุญต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นการทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการ ด้วยความที่ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบมีวิธีทำและวัตถุดิบการทำที่กลมกลืน พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหวานมัน สีสันสวยงาม กลิ่นหอม รูปทรงชวนรับประทาน จึงไม่แปลกที่ขนมไทยชนิดนี้จะได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ส่วนผสมของ ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ รสชาติอร่อยหวานมัน

เมนู ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ เป็นอีกหนึ่ง ขนมหวานไทย ยอดฮิตที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่อดีตและได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้พิเศษหน่อย เพราะเราจะแปลงร่างลูกบัวลอยกลม ๆ ให้มีรูปร่างเป็น ดอกกุหลาบ ที่มีสีสันสวยงามชวนรับประทาน ทานคู่กับน้ำกะทิ รสชาติอร่อยหวานมัน หอมกลิ่นใบเตยสด โดยสูตรที่เรานำมาแนะนำกันในวันนี้เป็นสูตรจากช่อง YouTube ที่มีชื่อว่า KookKik’s Diary แต่ก่อนที่เราจะไปดูขั้นตอนและวิธีทำขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ เรามาเตรียม ส่วนผสมทั้งหมดก่อนดีกว่าค่ะ ซึ่งส่วนผสมทั้งหมดมีดังนี้

ส่วนผสมสำหรับทำแป้งบัวลอย

  1. แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง
  2. แป้งมัน ½ ถ้วยตวง
  3. น้ำกะทิอุ่น ๆ 1 ถ้วยตวง (นำไปต้ม หรือเข้าไมโครเวฟก็ได้ค่ะ) 
  4. สีผสมอาหารตามชอบ (เราใช้ 5 สี สีชมพู, สีฟ้า, สีม่วง, สีส้ม และสีเขียว)
  5. แป้งนวลสำหรับโรยถาดเล็กน้อย

ส่วนผสมสำหรับทำน้ำกะทิราดบัวลอย

  1. น้ำกะทิ 3 ถ้วยตวง
  2. น้ำตาลทราย 7 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำตาลปี๊บ หรือน้ำตาลโตนด 2 ช้อนโต๊ะ
  4. เกลือป่น 1-2 ช้อนชา (แนะนำให้ลองใส่ 1 ช้อนชาแล้วชิมก่อน ถ้ายังไม่ถูกปากค่อยเพิ่มค่ะะ)
  5. ใบเตยสด (มัดเป็นกำ) 5-6 ใบ

ขั้นตอนและวิธีทำขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ

หลังจากที่เราได้เตรียมส่วนผสมสำหรับทำ ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาดูขั้นตอนและ วิธีทำ ขนมไทยบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบกันต่อเลยค่ะ ซึ่งขั้นตอนการทำค่อนข้างที่จะพิถีพิถันเล็กน้อย แต่เราเชื่อว่าคุณจะสามารถทำตามได้ง่าย ๆ อย่างแน่นอนค่ะ โดยขั้นตอนการทำมีดังนี้

ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ

ขั้นตอนและวิธีทำขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ

  1. เริ่มต้นด้วยการทำแป้งบัวลอย โดยใส่แป้งข้าวเหนียว และแป้งมัน ลงไปในชามผสม แล้วค่อย ๆ ใช้มือผสมเข้ากัน จากนั้นค่อย ๆ ใส่น้ำกะทิอุ่นลงไปทีละเล็กน้อย แล้วใช้มือผสมแป้งและน้ำกะทิให้เข้ากัน หรือจนกว่าแป้งจะเริ่มจับกันเป็นก้อนแฉะเล็กน้อย 
  2. เริ่มนวดแป้งจนได้เนื้อขนมที่นุ่ม ปั้นเป็นก้อนกลมได้ ไม่เหลวไป (ถ้าปั้นแล้วแป้งแตก ให้ใส่กะทิลงไปเพิ่ม หรือถ้าปั้นไม่ได้เพราะเหลวไป ให้ใส่แป้งข้าวเหนียวเพิ่ม)
  3. จากนั้นแบ่งแป้งเป็น 5 ก้อนเท่า ๆ กัน แล้วผสมสีลงไปในแต่ละก้อน
  4. เริ่มทำดอกกุหลาบ โดยปั้นแป้งเป็นลูกกลมขนาด 1.5-2 ซม. จากนั้นใช้แหนบหนีบช่อม่วง จุ่มปลายด้วยแป้งนวลเล็กน้อย แล้วนำมาหนีบทำกลีบกุหลาบ โดยเริ่มจากกลีบล่าง 5 กลีบเท่า ๆ กัน จากนั้นหนีบกลับสับหว่างไล่เป็นชั้นไปเรื่อย ๆ ทำจนหมดครบทุกสี โดยทั่วไปเราสามารถปั้นลูกบัวลอยเป็นรูปต่าง ๆ ได้ตามความชอบและขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน เช่น บัวลอยดอกเดซี่ บัวลอยรูปหัวใจ เป็นต้น
  5. เมื่อทำกุหลาบเสร็จแล้วให้นำไปวางไว้บนถาดที่โรยแป้งนวลแล้ว เพื่อไม่ให้แป้งติดถาด และคลุมด้วยผ้าขาวบางหรือแรป อย่าให้โดนอากาศมาก 
  6. เริ่มต้มบัวลอย โดยตั้งน้ำด้วยไฟกลางจนน้ำเดือด แล้วจึงค่อย ๆ ใส่บัวลอยดอกกุหลาบลงไปต้มจนสุก (สังเกตเมื่อบัวลอยสุก จะลอยขึ้นมา) รอให้บัวลอยลอยขึ้นมาสักพักเพื่อให้สุกถึงข้างใน แล้วจึงตักขึ้นมาแช่ในชามน้ำเย็น เพื่อให้เซ็ตตัว ตัว จากนั้นพักไว้ในกระชอนให้สะเด็ดน้ำ
  7. เริ่มทำน้ำกะทิราดบัวลอย โดยใส่กะทิ น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ และเกลือ ลงในหม้อต้ม แล้วยกขึ้นตั้งไฟกลางคนจนกว่าส่วนผสมทั้งหมดจะละลายเข้ากัน
  8. เมื่อส่วนผสมละลายเข้ากันหมดแล้ว ให้นำใบเตยสด (มัดเป็นกำ) ใส่ลงไปในหม้อต้ม จากนั้นหมั่นคนระหว่างต้มอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้กะทิจับกันเป็นก้อนหรือแตกมัน
  9. เมื่อกะทิเริ่มเดือดปุด ๆ ให้ยกลงได้เลย 
  10. จัดบัวลอยลงในชาม ราดด้วยน้ำกะทิ เพียงเท่านั้นคุณก็จะได้ขนมบัวลอยน้ำกะทิกุหลาบ รสชาติอร่อยหวานมัน รูปทรงสวยงามสีสันสดใสชวนรับประทาน
Suwanna Preebunpul

Suwanna Preebunpul

สวัสดีค่ะ ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน นักเขียนออยนะคะ ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ชอบท่องเที่ยว ถ่ายรูป เขียนบทความแนวแนะนำสินค้า, เทคโนโลยี, สาระความรู้, แฟชั่น และGraphic Design ด้วยความที่ส่วนตัวชอบทำอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีงานเขียนแนวใหม่ ๆ ออกมา ยังไงก็ฝากติดตามผลงานด้วยนะคะ

Contact >> Instagram, Facebook, Line

ufabetฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ขนมหวานไทย

บัวลอยน้ำขิง เมนูขนมหวานเพื่อสุขภาพ สำหรับฤดูหนาว

บัวลอยน้ำขิง

สายรักสุขภาพ แต่ชื่นชอบการกินของหวานอย่างบัวลอยต้องไม่พลาดกับสูตรเมนูขนมหวานที่เรานำมาฝากวันนี้อย่างเมนูบัวลอยน้ำขิง ถือว่าเป็นเมนูที่ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและจีนรวมอยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัวมากๆเลยค่ะ ซึ่งเมนูนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอดีต มีวิธีทำที่พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน แถมยังใช้วัตถุดิบการทำที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วยค่ะ เชื่อกันว่าบัวลอยน้ำขิง เหมาะสำหรับทานช่วงฤดูหนาว เพราะน้ำขิงเผ็ดร้อนที่ซดช่วยทำให้โล่งจมูกคล่องคอและแก้หวัดได้ ยังมีงาดำบดที่ช่วยเพิ่มโปรตีนช่วยให้ร่างกายอบอุ่นอีกด้วย บัวลอยน้ำขิง เป็นอีกหนึ่งเมนูครองใจสำหรับคนรักสุขภาพ ซึ่งวันนี้เราก็ไม่พลาดที่จะแนะนำสูตรบัวลอยน้ำขิงให้ทุกคนได้ลองทำตามกันได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหนไกล สามารถทำกินเองได้ที่บ้าน ส่วนจะมีส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

ส่วนผสมหลักของเมนูบัวลอยน้ำขิง

บัวลอยน้ำขิง หรือที่ภาษาจีนเรียกว่ายุเหวียนเซียว หรือ ทังยุเหวียน เป็นเมนูขนมหวานเพื่อสุขภาพสูตรคลีนที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำแล้วปั้นเป็นรูปทรงกลมสวยงาม ไส้มีรสหวานหอมโดยเฉพาะไส้งาดำ ทำให้เมนูนี้มีกลิ่นงาอ่อนๆ เข้ากันดีกับน้ำขิงกลิ่นหอม และมีรสหวานอ่อนๆ เหมาะสำหรับรับประทานร้อนๆ ในฤดูฝน หรือฤดูหนาว และนิยมรับประทานในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน หรืองานขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งมีส่วนผสมทั้งหมดดังนี้ 

ส่วนผสมสำหรับทำแป้งบัวลอย

  1. แป้งข้าวเหนียว 3 ถ้วย
  2. แป้งข้าวจ้าว 1 ถ้วย
  3. น้ำสะอาด สำหรับผสมแป้ง 1 ถ้วย
  4. ใบเตย 5 ใบ สำหรับต้มบัวลอย

ส่วนผสมสำหรับทำไส้งาดำ

  1. งาดำประมาณ 2 ถ้วย
  2. น้ำตาลทรายขาวประมาณ 1 ถ้วย
  3. น้ำตาลทรายแดงประมาณ 1 ถ้วย

ส่วนผสมสำหรับทำน้ำขิง

  1. น้ำตาลปิ๊ป 3 ช้อนโต๊ะ
  2. ขิงแก่ 1 ½ แง่งใหญ่
  3. น้ำสะอาด สำหรับต้มน้ำขิงงาดำประมาณ 3 ถ้วย
  4. เกลือ ½ ช้อนชา
บัวลอยน้ำขิง

ขั้นตอนวิธีการทำเมนูบัวลอยน้ำขิง

หลังจากที่เราได้เตรียมวัตถุดิบสำหรับทำเมนูบัวลอยน้ำขิงเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาลงมือทำแล้วค่ะ ซึ่งวิธีทำบัวลอยน้ำขิงก็ง่ายมากๆเลยค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นเมนูเพื่อสุขภาพเลยต้องพิถีพิถันในเรื่องการปรุงรสชาติ โดยบัวลอยน้ำขิง 1 ถ้วยให้พลังงานทั้งสิ้น 160 กิโลแคลอรี ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

วิธีทำเมนูบัวลอยน้ำขิง

  1. เริ่มเตรียมไส้งาดำ โดยการคั่วงาดำให้หอม จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาผัดกับน้ำตาลปี๊บ จนน้ำตาลปี๊บละลาย แล้วพักไว้ก่อน
  2. เริ่มเตรียมทำแป้งบัวลอย โดยการนำแป้งข้าวเหนียว ผสมกับแป้งข้าวเจ้า และน้ำเปล่า แล้วนวดให้แป้งเข้ากันดี 
  3. ปั้นแป้งบัวลอย โดยนำไส้งาดำไปใส่ แล้วปั้นเป็นลูกๆขนาดเท่าลูกปิงปอง จากนั้นเตรียมหม้อต้มน้ำความร้อนปานกลาง แล้วใส่ใบเตยลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดให้นำแป้งบัวลอยที่ปั้นแล้ว ใส่ลงไปต้มด้วย ถ้าบัวลอยลอยขึ้นมาแสดงว่าสุกแล้ว จากนั้นให้นำบัวลอยที่สุกมาพักในน้ำเย็นก่อน ระหว่างนั้นก็เริ่มทำน้ำขิง
  4. เตรียมทำน้ำขิง โดยต้มน้ำ ใส่ขิง น้ำตาลปิ๊ป และเกลือ ลงไปต้มจนน้ำเริ่มเดือด จากนั้นชิมจนได้รสชาติน้ำขิง ที่พอใจแล้ว เพียงเท่านี้ก็จะได้เมนูบัวลอยน้ำขิงแสนอร่อย ทานง่าย พร้อมจัดเสิร์ฟแล้วค่ะ

เคล็ดลับการทำขนมบัวลอยน้ำขิง

  1. การเตรียมแป้งสำหรับปั้นบัวลอยความสำคัญอย่างมาก ต้องใส่ส่วนผสมให้พอดี โดยใช้แป้ง 2 ชนิด ที่มีคุณสมบัติต่างกัน คือแป้งข้าวเหนียว และ แป้งข้าวจ้าว จะทำให้ได้ความเหนียวนุ่มของแป้งที่พอดี
  2. แนะนำสำหรับไส้ให้ใช้ งาดำคั่ว และโขรกละเอียด นำมาผัดกับน้ำตาลน้ำตาลปี๊บ เนื่องจากมีความหวาน และมีความเหนียว นำมาปั่นไส้ง่าย 
  3. การปั้นบัวลอย ให้รีดเป็นแผ่น โดยมีความหนาที่พอดี ไม่หนา หรือบางเกินไป บัวลอยปั้นให้กลมๆ หรือจะทำเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ตามใจชอบ
  4. ขิง สำหรับนำมาทำน้ำขิง ให้เลือกใช้ขิงแก่ เนื่องจากขิงแก่ ให้รสเผ็ด และให้กลิ่นหอมขิงได้ดี
  5. สำหรับไส้ หากหางาดำไม่ได้ สามารถใช้ ถั่วเขียวแทนได้ โดยหากนำถั่วเขียวมามาล้างให้สะอาด จนน้ำล้างถั่วเขียวใส ขั้นตอนนี้สำคัญ หากน้ำล้างไม่ใสถั่วเขียวจะมีกลิ่น จากนั้นนำไปแช่น้ำ 3 ชั่วโมง แล้วนำไปนึ่งให้สุก และนำไปโขรก จากนั้นนำไปผัดกับน้ำตาล หากนำมาทำไส้ถั่วเขียว ให้ใส่พริกไทยลงไปด้วย จะเพิ่มรสชาติของไส้ได้อย่างดีค่ะ
  6. การต้มบัวลอย ให้ต้มด้วยน้ำเชื่อมเดือดๆ ความหวานของน้ำเชื่อมจะทำให้แป้งบัวลอย มีความหวานน่ารับประทานยิ่งขึ้นค่ะ

เป็นอย่างไรกับบ้างคะทุกคนสำหรับเมนูบัวลอยน้ำขิง แป้งบัวลอยห่องาดำเน้น ๆ กินกับน้ำขิงร้อน ๆ หอม ๆ ซดคล่องคอ นอกจากจะอร่อยกลมกล่อม รสหวานอ่อนๆ และหอมกลิ่นขิงแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งเมนูของหวานเพื่อสุขภาพ โดยสรรพคุณของงา ช่วยบรรเทาโรคต่างๆ ทั้งรักษาผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ทำให้ผมดกดำ เพิ่มเม็ดเลือด ช่วยให้ระบบหัวใจแข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ช่วยในการขับถ่าย อีกทั้งวิตามินบีที่อยู่ในงา ช่วยบำรุงปลายประสาท ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย และต้านอนุมูลอิสระได้ดีมากๆ ส่วนน้ำขิงมีสรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร รวมถึงช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น สำหรับใครที่กำลังอยากจะลองทำบัวลอยน้ำขิงกินเองก็อย่าลืมนำสูตรที่เราแนะนำไปลองทำกันนะคะ

สล็อต joker ฝาก-ถอน ไม่มี ขั้นต่ำ

Categories
ขนมหวานไทย

เต้าส่วน เมนูขนมหวานจากถั่วเขียว อร่อย หวาน มัน หอมกลิ่นกะทิ

เต้าส่วน

หลายคนคงทราบกันดีว่าอาหารจีนทั้งคาวและหวานเข้ามีมีอิทธิพลในไทยพร้อมกับการอพยพของชาวจีน จนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทยไปแล้ว ซึ่งวันนี้เราก็มีเมนูของหวานจากจีนมีได้พัฒนาและดัดแปลงสูตรให้เข้ากับวิถีความเป็นอยู่ของไทยอย่าง “เต้าส่วน” ขนมหวานรสเลิศคู่สุขภาพของจีนที่กลายมาเป็นของว่างที่ถูกปากคนไทยได้ตลอดทั้งปีมาแนะนำทุกคนค่ะ ซึ่งเต้าส่วนมาจากภาษาจีนว่า 豆爽 (โต้วส่วง) คำว่า ส่วง หมายถึงการใส่แป้งละลายในน้ำเพื่อให้เหนียวข้นขึ้น เต้าส่วนคือขนมหวานที่ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกต้มน้ำตาล ใส่แป้งมันกวนให้ข้นหนืด เต้าส่วนเดิมทีไม่ใส่กะทิ แต่ช่วงหลังมานี้เริ่มนำมาราดกะทิ ซึ่งคาดว่าเป็นการประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของไทยแดนมะพร้าวที่นิยมใส่กะทิในของหวาน แต่ถึงอย่างนั้นมันก็กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัวกันสุดๆ เลยค่ะ ส่วนวัตถุดิบและขั้นตอนการทำเต้าส่วนเป็นอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

ส่วนผสมหลักของเมนูเต้าส่วน

เต้าส่วน หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Mung Bean Pudding เป็นขนมไทยเนื้อสัมผัสเหนียว ๆ ยืด ๆ กรุบ ๆ รสชาติอร่อยลงตัวทั้งหวานมันได้รสเค็มนิด ๆ จากหน้ากะทิ แถมขั้นตอนการทำก็ง่ายมากๆเลยค่ะ อุปกรณ์น้อย วัตถุดิบก็หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป โดยส่วนผสมหลักที่ขาดไม่ได้เลย คือ ถั่วเขียว สำหรับเคล็ดลับความอร่อยของเมนูขนมหวานนี้ คือ การเลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพ และการปรุงรสชาติ หากทำตามสูตรที่เรานำมาแนะนำเนื้อถั่วเขียวจะเนียนสุกพอดี ยังมีความเป็นเม็ดถั่วเขียวอยู่ น้ำแป้งเหนียวกำลังพอดี และความหวานตัดกับน้ำกะทิได้อย่างลงตัว โดยสูตรนี้มีส่วนผสมสำหรับทำเต้าส่วนดังนี้

ส่วนผสมสำหรับทำเต้าส่วน

  1. ถั่วเขียวกระเทราะเปลือกผ่าซีก 1 กิโลกรัม
  2. น้ำเปล่า 3 ลิตร
  3. ใบเตย 3 ใบ
  4. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
  5. เกลือป่น 1 ช้อนชา (สำหรับน้ำเต้าส่วน)
  6. แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ
  7. แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
  8. น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง (สำหรับใช้ผสมแป้ง)
  9. หัวกะทิกล่อง 1 ลิตร
  10. เกลือป่น 1 ช้อนชา (สำหรับน้ำราดกะทิ)
เต้าส่วน

ขั้นตอนวิธีการทำเมนูเต้าส่วน

หลังจากที่เราได้จัดเตรียมส่วนผสมสำหรับทำเต้าส่วนเรียบร้อยหมดแล้ว ก็ถึงเวลาต้องลงมือทำกันแล้วค่ะ ซึ่งวิธีทำเมนูขนมหวานเต้าส่วนก็ง่ายนิดเดียวเองค่ะ เพียงแค่ต้องใส่ใจกับทุกขั้นตอนแค่นี้ก็จะได้เต้าส่วนที่แสนอร่อยถูกปากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนจะมีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

วิธีทำเต้าส่วน

  1. เริ่มจากการเตรียมถั่วเขียวก่อนเลยค่ะ โดยนำถั่วเขียวไปแช่น้ำและคัดเอาเม็ดถั่วที่ลอยน้ำออกให้หมด จากนั้นล้างให้สะอาด แล้วแช่ถั่วเขียวในน้ำเปล่าประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นนำถั่วเขียวไปนึ่งในหม้อนึ่งด้วยความร้อนปานกลาง ใช้เวลานึ่งประมาณ 30 นาที จนถั่วเขียวสุก จากนั้นให้นำถั่วเขียวมาพักให้เย็นก่อน (หากถั่วเขียวยังไม่สุกให้นึ่งจนกว่าจะสุก)
  2. เตรียมหม้อต้ม โดยต้มน้ำให้เดือด นำใบเตยลงไปต้มด้วยปรับไฟอ่อนๆ ให้น้ำมีกลิ่นหอมใบเตย แล้วจึงเติมน้ำตาลทราย และเกลือลงไป จากนั้นเคี้ยวให้ได้ที่ แล้วลองชิมให้ได้รสน้ำเชื่อมที่กลมกล่มจนพอใจ
  3. เตรียมแป้ง โดยนำน้ำ 1 ถ้วยตวง ผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสัมปะหลัง คนผสมแป้งให้ละลาย แล้วพักเอาไว้ก่อน
  4. สำหรับหม้อน้ำเชื่อมเอาใบเตยออก จากนั้นเร่งไฟให้เดือดกวนน้ำเชื่อมเร็วๆ ค่อยๆหยอดน้ำผสมแป้งลงไปทีละนิดกวนจนน้ำเชื่อมเหนียวได้ที่ จากนั้นปิดไฟ แล้วนำถั่วเขียวนึ่งลงไปใส่ แล้วกวนต่อให้ถั่วเขียวนึ่งทั่วน้ำเชื่อม พักให้เต้าส่วนเย็นก่อน
  5. เตรียมน้ำกะทิ โดยต้มหัวกะทิด้วยไฟอ่อนๆ และใส่เกลือป่นลงไป เคี้ยวให้กะทิพออุ่น อย่าให้กะทิแตกมัน จากนั้นก็พักน้ำกะทิเอาไว้ก่อน
  6. ตักเต้าส่วนใส่ชาม และราดด้วยน้ำกะทิ เพียงแคนี้ก็จะมีของหวานเต้าส่วนที่พร้อมรับประทานได้แล้วค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับสูตรเมนูของหวานเต้าส่วนที่เรานำมาแนะนำ นอกจากความอร่อยกลมกล่อม หวาน มันเค็มนิด ๆ แล้ว เต้าส่วนยังมีประโยชน์โดยถั่วเขียวที่เป็นส่วนผสมหลักเป็นถั่วที่มีไขมันต่ำ โปรตีนสูง และมีค่า GI ต่ำ (Glycemic index) เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับใครที่กำลังอยากจะลองทำเมนูเต้าส่วนก็อย่าลืมนำสูตรที่เราแนะนำไปลองกันนะคะ ขอบอกเลยว่าหากนำสูตรนี้ไปลองทำให้คนในครอบครัวกินรับรองว่าอร่อยถูกปากทุกคนแน่นอนค่ะ

ฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา วอเลท

Categories
ขนมหวานไทย

จาวตาลเชื่อม เมนูขนมหวานจากเมล็ดอ่อนลูกตาล อร่อยหอมหวาน

จาวตาลเชื่อม

เอาใจคนที่ชอบกินของหวานด้วยสูตรขนมหวานอย่างจาวตาลเชื่อม หรือลูกตาลเชื่อม ขนมไทยโบราณรสชาติหวานแบบฉ่ำ ๆ นุ่ม และหอม โดยขนมหวานนี้ทำจากจาวตาลที่นำไปเชื่อมกับน้ำตาลทรายเคี่ยว ซึ่งจาวตาลที่นำมาใช้ คือ ต้นอ่อนตาลโตนด โดยใช้ส่วนที่สามารถกินสด ๆ ได้ แต่ถ้าหากเป็นจาวตาลอ่อน ๆ จะมีรสชาติหวานกรอบอร่อย และนิยมนำไปเชื่อมทำเป็นขนมไทยเชื่อม ซึ่งการเชื่อมจาวตาลที่นิยมทำมี 2 แบบคือ จาวตาลเชื่อมเปียกแบบฉ่ำน้ำตาล และจาวตาลเชื่อมแห้ง ซึ่งจาวตาลเชื่อม เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่ในสมัยนี้หากินยากมาก แถมราคาก็แพงใช่เล่นเลยค่ะ แต่ถ้าทำกินเองได้ก็จะคุ้มสุด ๆอีกเช่นกันค่ะ ดังนั้นวันนี้เราก็มีสูตรขนมจาวตาลเชื่อมโบราณ พร้อมเคล็ดลับความอร่อยมาแนะนำทุกคน แถมยังสามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริมได้ค่ะ เพราะจาวตาลเชื่อมมีราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะช่วยสร้างรายได้เสริมกำไรงามได้เลยล่ะค่ะ ส่วนจะมีวัตถุดิบและขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

ส่วนผสมหลักของขนมจาวตาลเชื่อม

จาวตาลเชื่อม หรือลูกตาลเชื่อม เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้จาวตาลและน้ำตาลทรายเป็นส่วนผสมหลัก โดยการเคี่ยวน้ำเชื่อมให้ใสแล้วใส่จาวตาลลงไป เคี่ยวต่อจนน้ำเชื่อมใสเหนียวเป็นเงามันวาว ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้นและใช้เป็นขนมที่รับประทานได้ทั่วไป แถมยังมีรสชาติที่อร่อย หวานกรอบ หอมกลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ และยังเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานอีกด้วยค่ะ โดยมีวัตถุดิบและส่วนผสมดังนี้

ส่วนผสมสำหรับทำขนมจาวตาลเชื่อม

  1. จาวตาลสด 7 กิโลกรัม
  2. น้ำตาล 4 กิโลกรัม
  3. น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง
จาวตาลเชื่อม

ขั้นตอนวิธีการทำขนมจาวตาลเชื่อม

หลังจากที่เตรียมส่วนผสมสำหรับทำขนมจาวตาลเชื่อมเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาเริ่มลงมือทำกันแล้วค่ะ ซึ่งวิธีทำสำหรับเมนูขนมหวานอย่างจาวตาลเชื่อมก็ง่ายมากๆ สามารถทำกินได้ที่บ้าน หรือจะจะขายสร้างรายได้เสริมที่ดีงามสุดๆเลยค่ะ เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบการทำขนมหวาน หรือสำหรับมือใหม่หัดเริ่มทำขนมจาวตาลเชื่อมครั้งแรกค่ะ โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

วิธีทำขนมจาวตาลเชื่อม

  1. จาวตาลสดมักจะมีไข สีขาวๆเคลือบอยู่ ต้องล้างทำความสะอาด จนไขออกหมด โดยใช้ใบตองฉีกๆ (ใช้ใบตะไคร้ ใบไผ่แทนได้ค่ะ) และขัดผิวของจาวตาลจะช่วยให้เมือกขาวๆ ของจาวตาลออกง่ายขึ้นค่ะ จากนั้นล้างน้ำอีก 3-5 รอบ จนกว่าไขจะออกหมด

เมื่อจาวตาลขาวสะอาด ให้ใช้อุปกรณ์ปลายแหลมจิ้ม เพื่อให้น้ำเชื่อมซึมเข้าจาวตาลดี (ระวังอย่าให้จาวแตกออกจากกัน)

  1. ตั้งน้ำให้เดือด แล้วนำนำจาวตาล ลงไปต้มประมาณ 15 นาที จากนั้นใส่น้ำตาลลงไป ต้มต่อให้เป็นน้ำเชื่อม แล้วเติมน้ำลอยดอกมะลิลงไปด้วย จากนั้นก็ต้มเชื่อมจาวตาลต่อ 20 นาที สังเกตุให้ลูกตาลเหลืองนุ่ม
  2. เมื่อครบเวลา หรือลูกตาลเหลืองนุ่มได้ที่ และตรวจดูว่าจาวตาลเริ่มอิ่มตัวกับน้ำเชื่อมหรือยัง เขี้ยวต่อไปเรื่อยจนจาวตาลอิ่มน้ำเชื่อม แล้วตักออกให้สะเด็ดน้ำ (อย่าคนแรงระวังจาวตาลแตก) 
  3. เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ขนมจาวตาลเชื่อมแสนอร่อยแช่เย็นชื่นใจพร้อมเสิร์ฟ

เคล็ดลับความอร่อยของขนมจาวตาลเชื่อม

  1. การล้างเมือกของจาวตาล ด้วยการใช้ฟางในการขัดจะช่วยขัดเมือกของจาวตาลได้ดี
  2. การล้างจาวตาล ด้วยสารส้มจะช่วยให้จาวตาลสะอาด และต้องล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด ไม่ให้เหลือสารส้มด้วยนะคะ
  3. ต้องตัดส่วนของรากจาวตาลออก เนื่องจากส่วนนั้นจะแข็งไม่เหมาะสำหรับนำไปรับประทาน
  4. น้ำลอยดอกมะลิ ให้ใส่สุดท้าย เพื่อเพิ่มความหอมของจาวตาลเชื่อม

เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับสูตรขนมจาวตาลเชื่อม นอกจากความอร่อย หวาน นุ่ม และหอมกลิ่นน้ำลอยดอกมะลิแล้ว เมนูของหวานนี้ยังเป็นอีกเมนูขนมไทยที่หาทานยากมาก แถมยังมีประโยชน์ โดยจาลตาลจะค่อย ๆ ละลายนิ่วในถุงน้ำดีทีละน้อยๆ สังเกตได้จากภาวะท้องอืด อาหารไม่ย่อย จะค่อยๆลดลง สำหรับใครที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ลองรักษาด้วยการกินจาลตาลดูนะคะ ส่วนสำหรับที่กำลังอยากจะลองทำขนมจาวตาลเชื่อมก็อย่าลืมนำสูตรที่เรานำมาฝากไปลองทำดูนะคะ

Categories
ขนมหวานไทย

ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้

ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้
ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้

ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็น อาหาร ขนมหวาน และสภาวะแวดล้อมรอบตัว ผลหมากรากไม้ต่างๆ ล้วนแล้วแต่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นขนมให้เข้ากับวิถีชีวิตและมักจะแฝงกายเคียงคู่อยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีรวมทั้งขนมหัวมันหน้ากะทิ ขนมไทยดั้งเดิมจากปักษ์ใต้ที่ทำจากกะทิและมันสำปะหลัง เป็นขนมเนื้อขนมนวลเนียน นุ่มหนึบด้วยมันขูดละเอียด อร่อยหวานหอมกลิ่นกะทิแบบไทยๆ และนวดเฟ้นอย่างพิถีพิถันก่อนนำไปนึ่งให้สุกฉ่ำ ขนมหัวมันหน้ากะทิมีการสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ด้วยความเป็นขนมโบราณหาทานยากจึงต้องตระวนหาซื้อกิน หรือไม่ก็ต้องรอกินตามช่วงเทศกาล ไม่ได้หากินได้ง่ายๆนะคะ แต่สำหรับที่กำลังมองหาสูตรมาลองทำกินเอง วันนี้เราก็มีสูตรขนมหัวมันหน้ากะทิมาแนะนำทุกคน ซึ่งสูตรนี้เป็นสูตรโบราณที่หาทานได้ยาก แต่สามารถทำกินเองได้ง่ายๆไม่ยุ่งยากเลยค่ะ แถมส่วนผสมยังหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป แต่จะมีส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้
ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้

ส่วนผสมหลักของขนมหัวมันหน้ากะทิ

ขนมภาคใต้ มีความหลากหลายตามพื้นที่ ท้องถิ่นและขนบประเพณีศาสนาเพราะขนมแต่ละชนิด มีที่มาจากภูมิปัญญาและวัตถุดิบที่ใช้ในการทำ ขนมหัวมันหน้ากะทิ เป็นขนมไทยโบราณของภาคใต้ ที่สืบสานการทำกันมาหลายชั่วอายุคน มีลักษณะคล้ายขนมหน้านวล แต่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นมันสำปะหลังแทน ปัจจุบันขนมหัวมันหน้ากะทิเป็นเมนูของหวานที่หาทานได้ยากมาก ดังนั้นวันนี้เรามาลงมือทำขนมหัวมันหน้ากะทิทานเองกันง่ายๆ ที่บ้านกันเลยค่ะ แต่ก่อนจะลงมือทำตามขั้นตอนการทำ เราต้องเตรียมส่วนผสมในการทำกันก่อนค่ะ

ส่วนผสมสำหรับทำขนมหัวมันหน้ากะทิ

  1. หัวมันสำปะหลัง 1 หัว
  2. เกลือ 1 ช้อนชา (สำหรับปรุงรสหัวมัน)
  3. แป้งมัน 2 ช้อนโต้ะ
  4. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
  5. น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
  6. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
  7. เกลือ 1 ช้อนชา (สำหรับปรุงรสกะทิ)
  8. แป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนโต้ะ

ขั้นตอนวิธีการทำขนมหัวมันหน้ากะทิ

หลังจากที่เราได้เตรียมส่วนผสมในการทำขนมหัวมันหน้ากะทิเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาเริ่มลงมือทำกันแล้วค่ะสำหรับวิธีทำขนมหัวมันหน้ากะทิก็ง่ายมากๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน ซึ่งเคล็ดลับความอร่อยของขนมปักษ์ใต้นี้ขึ้นอยู่กับการเลือกหัวมัน โดยต้องเลือกหัวมันขนาดใหญ่ๆ โดยล้างให้สะอาด และกะทิที่ต้องเลือกใช้น้ำกะทิคั้นสดๆ จะได้ความหอม ของกะทิแบบธรรมชาติ สำหรับขั้นตอนการทำมีดังนี้

ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้
ขนมหัวมันหน้ากะทิ เมนูขนมไทยโบราณจากปักษ์ใต้

วิธีทำขนมหัวมันหน้ากะทิ

  1. เริ่มจากการล้างหัวมันให้สะอาด โดยปลอกเปลือกมันออก และเอาส่วนแกนหัวมันออก เพราะแกนของหัวมัน แข็ง เวลานำมาทำขนมจะทำให้ขนมไม่เนียน 
  2. ล้างให้สะอาด โดยสังเกตุว่าต้องล้างจนน้ำใส ไม่มีแป้งสีขาวติดในน้ำ จากนั้นนำหัวมันมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  3. นำหัวมันไปนึ่งให้สุกประมาณ 20 นาที เมื่อได้หัวมันสุกแล้ว ให้นำหัวมันมาบดให้ละเอียด จากนั้นพักเอาไว้ก่อน
  4. เตรียมภาชนะ ใส่หัวมันบด น้ำตาลทราย แป้งมัน เกลือ และน้ำเปล่า จากนั้นกวนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน กวนไปเลื่อยๆ จนส่วนผสมต่างๆเข้ากันดี
  5. จากนั้นนำหัวมันที่ปรุงรสแล้วใส่พิมพ์ และนำไปนึ่ง ด้วยไฟร้อนๆ ประมาณ 30 นาที
  6. ในรอ ให้เตรียมกะทิ โดยนำหัวกะทิมาผสมกับแป้งข้าวจ้าว และเกลือ แล้วนำส่วนผสมมากวนให้ละลาย และพักเอาไว้ก่อน
  7. เมื่อครบเวลา 30 นาที ให้ปิดไฟหม้อนึ่ง แล้วราดกะทิที่เตรียมไว้ลงบนพิมพ์ของหัวมัน และอบไว้ในหม้อนึ่งร้อนๆ ให้แป้งกะทิสุก (ไม่ต้องนึ่งนาน เพราะหากนึ่งนานกะทิจะจับตัวเป็นก้อนและเนื้อแข็ง ไม่น่ารับประทาน) และพักเอาไว้ก่อน ประมาณ 10 นาที
  8. จากนั้นนำขนมออกมาพักให้เย็น โดยให้กะทิเซ็ตตัว เพียงแค่นี้ก็จะได้ขนมหัวมันหน้ากะทิแสนอร่อย พร้อมรับประทานแล้วค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับสูตรขนมหัวมันหน้ากะทิแสนอร่อยที่เรานำมาฝาก ขนมหวานเมนูนี้เป็นขนมปักษ์ใต้โบราณที่หากินได้ยากมาก  เพราะวิถีชีวิตของคนใต้ที่ค่อยๆเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ทำให้ขนมโบราณในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเพียงอาชีพและธุรกิจ สำหรับผู้คนตามหาความวินเทจเท่านั้น แต่หากใครที่กำลังอยากลงมือทำขนมหัวมันหน้ากะทิกินเองที่บ้านก็อย่าลืมนำสูตรที่เราแนะนำไปลองทำดูนะคะ สำหรับวิธีเก็บรักษาควรรับประทานให้หมดภายในที่ทำ แต่หากใส่ตู้เย็นจะยืดอายุขนมได้ แต่เนื้อขนมจะเปลี่ยน ต้องอุ่นด้วยการนึ่งค่ะ

Categories
ขนมหวานไทย

เต้าส่วน ขนมไทยน่ากิน หวาน อร่อย ใครชิมก็ติดใจ

เต้าส่วน ขนมไทยน่ากิน หวาน อร่อย ใครชิมก็ติดใจ
เต้าส่วน ขนมไทยน่ากิน หวาน อร่อย ใครชิมก็ติดใจ

ขนมไทยในปัจจุบันนี้มีหลายชนิดมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นที่รสชาติ หวาน กลมกล่อม เค็มนิด ๆ และ มักจะมีกะทิเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มความหวานมันมากยิ่งขึ้น และในวันนี้เรามี ขนมหวาน อีก 1ชนิดที่น่าใจ นั่นคือ เต้าส่วน นอกจากความหวานอร่อยแล้ว ยังได้คุณค่าทางโภชนาการด้วย เพราะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบนั่นเอง 

เต้าส่วน ทำง่าย มีโภชนาการ

ใครที่อยากทานขนมหวาน ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง มีความหวานกลมกล่อม อยากให้คุณได้ลองทำ เต้าส่วน ดู เพราะถือเป็นเมนูที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ แถมยังทำง่าย ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น งั้นวันนี้เรามีส่วนผสมและวิธีทำมาให้คุณลองทำกัน รับรองว่า คุณทำตามได้แน่นอน

ส่วนผสมและวิธีทำเต้าส่วน

ส่วนผสมของ เต้าส่วน – ถั่วเขียวเราะเปลือก (ถั่วทอง) 1+1/4 ถ้วย -ใบเตย 4-6 ใบ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้) -แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ – แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ -น้ำเปล่า 3+1/2 ถ้วย -น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วย -หัวกะทิ 1+1/4 ถ้วย -น้ำเปล่า 1 ถ้วย (สำหรับผสมแป้ง) – เกลือป่น 1/2 ช้อนชา 

วิธีทำ เต้าส่วน เริ่มแรก คุณจะต้องล้างถั่วเขียวเราะเปลือกให้สะอาด ล้างประมาณ 3-4 ครั้งจนน้ำถั่วใส และ แช่ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง เมื่อครบ 2 ชั่วโมงแล้วให้นำถั่วเขียวที่แช่น้ำวางลงในผ้าขาวบาง และนำไปนึ่งในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือด ใช้ไฟปานกลาง ใช้เวลา 30-40 นาที หลังจากนั้นให้พักถั่วเขียวทิ้งไว้ หลังจากนั้นให้ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ และ ใส่ใบเตยที่มัดเป็นปมลงไปด้วย และต้มจนน้ำเดือดจัด หลังจากนั้นให้คุณเติมน้ำตาลทรายลงไป และ คนให้ละลาย เคี่ยวจนเดือด แล้วนำใบเตยไปทิ้ง หลังจากนั้นให้ผสมแป้งมันสำปะหลังกับแป้งเท้ายาย่อม และ น้ำเปล่า คนผสมแป้งให้ละลายเข้ากัน และ เทส่วนผสมแป้งละลายน้ำลงในหม้อน้ำเชื่อมที่เดือด ๆ ใช้ไฟอ่อนแล้วคนตลอดเวลาให้เข้ากันจนแป้งเหนียวและใส เมื่อได้ที่แล้วให้ใส่ถั่วเขียวนึ่งสุกลงไปคนผสมให้เข้ากัน รอจนเดือดอีกครั้ง ปิดไฟ ยกลงจากเตา 

ต่อมาเป็นการทำหน้ากะทิ ให้คุณใส่กะทิลงในหม้อ ตามด้วยใบเตย และเกลือป่น ตั้งไฟอ่อน พอน้ำกะทิเดือดเล็กน้อย ปิดไฟแล้วเตรียมเอาไว้ ตักส่วนผสมเต้าส่วนลงถ้วย และ ราดด้วยน้ำกะทิ แค่นี้ก็ทานได้แล้ว 

เต้าส่วน ทำกินก็ได้ ทำขายก็ดี

ถ้าคุณมีฝีมือในการทำ ขนมหวาน เช่น เต้าส่วน และ อยากลองทำขายดู ก็สามารถทำได้เลย มันไม่ได้ยากเกินไป รับรองเลยว่า ถ้าทำจนชำนาญแล้ว ใคร ๆ ก็ติดใจแน่นอน

Categories
ขนมหวานไทย

ขนมศิลาอ่อน ขนมไทยพื้นบ้าน แสนอร่อย สามารถทำกินเองได้ง่ายๆ

ขนมศิลาอ่อน ขนมไทยพื้นบ้าน แสนอร่อย สามารถทำกินเองได้ง่ายๆ
ขนมศิลาอ่อน ขนมไทยพื้นบ้าน แสนอร่อย สามารถทำกินเองได้ง่ายๆ

เชื่อว่าเด็กสมัยนี้หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อขนมศิลาอ่อนมาก่อน ขนมศิลาอ่อน ขนมไทยภาคเหนือที่มีลักษณะคล้ายกับขนมเปียกปูน โดยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่ที่ตัวเนื้อแป้งที่มีลักษณะนุ่มเหนียว รับประทานง่าย อร่อยกลมกล่อม หอมกลิ่นใบเตย เนื่องใช้ใบเตยเป็นวัตถุดิบในการทำขนม ซึ่งขนมศิลาอ่อนเป็นที่คนอำเภอสวี ของจังหวัดชุมพรที่รู้จักกันดี และเป็นที่นิยมของคนทั่วไป โดยนายสมชาติ วงศ์สุวัฒน์ เป็นบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดการทำขนมไทยมาจากพี่สาว (นางกุหลาบ ช่วยเต็ม) ได้พยายามดัดแปลงและพัฒนาขนมเปียกปูนที่มีความยุ่งยาก และเสียง่าย จนกระทั่งกลายเป็นขนมศิลาอ่อนที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น แถมมียังขั้นตอนการทำที่ง่ายมากๆ สามารถทำทานได้เองที่บ้าน ดังนั้นเราจึงไม่พลาดที่จะแนะนำสูตรขนมศิลาอ่อนแบบง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งหัดทำครั้งแรก ส่วนจะมีวัตถุดิบและวิธีการทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

ส่วนผสมหลักของขนมศิลาอ่อน

ขนมศิลาอ่อน” คือขนมไทยทางภาคเหนือมีลักษณะงหน้าตาสีและรสชาติใกล้เคียงกับ “ขนมเปียกปูน” แต่จะมีความแตกต่างกันที่เครื่องโรยหน้าขนม โดยขนมเปียกปูนจะใช้มะพร้าวโรยหน้า ส่วนขนมศิลาอ่อนจะใช้ถั่วโรยหน้าขนม และจุดแตกต่างที่เห็นได้ยังชัดเจนเลยคือส่วนผสมที่ใช้โดยขนมศิลาอ่อนจะมีส่วนผสมของน้ำกะทิอยู่ ส่วนขนมเปียกปูนไม่มีจึงต้องโรยด้วยมะพร้าวเพื่อเพิ่มความหอมมันเท่านั้นค่ะ ขนมศิลาอ่อน ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งถั่วมาผสมกัน รวมถึงส่วนผสมของน้ำเชื่อมและกะทิ บางพื้นที่เรียกว่า “ขนมสะละอ่อน” หรือบ้างเรียก “ขนมสาลาอ่อน” บางที่ก็เรียกง่ายๆว่า “ขนมถาด” โดยขนมศิลาอ่อนมีส่วนผสมดังนี้

ส่วนผสมสำหรับทำขนมสิลาอ่อน

  1. ข้าวสารเจ้า 2 กิโลกรัม
  2. แป้งท้าวยายม่อม 300 กรัม
  3. น้ำปูนใส 20 ลิตร (ทำให้ขนมมีความยืดหยุ่น แต่ไม่ติดภาชนะ)
  4. น้ำตาลทราย 5 กิโลกรัม
  5. น้ำตาลปี๊บ 2 กิโลกรัม
  6. ใบเตย 1 กิโลกรัม
  7. กะทิคั้นแบบสดๆ 14 ลิตร
  8. ถั่วลิสงซอยโรยหน้าขนมสิลาอ่อน
ขนมศิลาอ่อน ขนมไทยพื้นบ้าน แสนอร่อย สามารถทำกินเองได้ง่ายๆ
ขนมศิลาอ่อน ขนมไทยพื้นบ้าน แสนอร่อย สามารถทำกินเองได้ง่ายๆ

ขั้นตอนวิธีการทำขนมสิลาอ่อน

หลังจากที่เราได้เตรียมวัตถุดิบสำหรับการทำขนมสิลาอ่อนเรียบร้อย ต่อมาก็ถึงเวลาลงมือทำกันแล้วค่ะ ซึ่งสูตรขนมสิลาอ่อนนี้มีวิธีทำที่ง่ายมากๆเลยค่ะ โดยขนมสิลาอ่อน เป็นเมนูขนมหวานที่ใช้วิธีการกวนให้สุก แล้วนำมาเทใส่ถาด จัดการเกลี่ยหน้าให้เรียบ จากนั้นปล่อยให้ขนมเย็น แล้วจึงตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมพอดีคำ โรยหน้าขนมด้วยถั่วลิสงซอย ที่สำคัญขนมหวานสูตรนี้ต้องใช้ความใส่ใจในการทำของแต่ละขั้นตอน โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

วิธีทำขนมศิลาอ่อน

  1. เริ่มจากเตรียมน้ำปูนใส โดยการหมักน้ำปูนใสไว้ก่อน 3 วัน เพื่อให้ได้ได้น้ำปูนที่ไม่หยาบและไม่มีปูนติด จากนั้นเก็บเอาน้ำปูนใสมาทำขนม โดยให้เตรียมน้ำปูนในประมาณ 20 ลิตร
  2. เริ่มหมักข้าวสารเจ้าในน้ำปูนใสประมาณ 6 ชั่วโมง จากนั้นนำมาโม่เอาแป้งข้าวเจ้า แล้วพักเอาไว้ก่อน
  3. นำใบเตยมาปั่นกับน้ำปูนใส แล้วคั้นเอาน้ำใบเตย (กรองด้วยผ้าขาวบาง) พักเอาไว้ก่อน
  4. ผสมแป้ง โดยนำเอาแป้งข้าวเจ้า น้ำใบเตย และกะทิมาคนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  5. จากนั้นนำตั้งกระทะ แล้วนำแป้งที่ผสมทั้งหมดลงไปเคี้ยวในไฟปานกลาง จากนั้นปรุงรสด้วย น้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บ แล้วเคี้ยวต่อประมาณ 2 ชั่วโมง หรือจนกว่าแป้งเหนียวหนืด
  6. จากนั้นเทแป้งใส่พิมพ์ หรือถาด จากนั้นพักไว้ให้เย็น แล้วนำไปหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ และโรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด

เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับสูตรขนมศิลาอ่อนที่เรานำมาฝาก ขอบอกเลยว่าสูตรนี้เป็นสูตรแบบง่ายๆที่สามารถทำกินเองได้ที่บ้าน นอกจากนี้ขนมศิลาอ่อนยังเป็นขนมพื้นบ้านที่มีแหล่งที่มาจากบ้านควนตะล่อม ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร สามารถนำมารับประทานได้ทุกโอกาส เช่น หลังอาหารมื้อเช้าและเย็น อาหาว่าง หรืองานเลี้ยงสังสรรค์โอกาสต่างๆ แถมยังมีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม หวาน มัน หอมกลิ่นใบเตย ส่วนใครที่กำลังอยากจะลองทำขนมศิลาอ่อนอย่าลืมนำสูตรที่เราแนะนำไปลองทำกันดูนะคะ